
ข้อแนะนำสำหรับการดูแล
ในการให้ยาใต้ผิวหนัง
การให้ยาทางใต้ผิวหนัง เหมาะสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ไม่สามารถกลืนยาได้ หรือมีปัญหาการดูดซึมยาในทางเดินอาหาร วิธีการให้ยาทางใต้ผิวหนังนี้เป็นการให้ยาแบบต่อเนื่อง พบว่าดีกว่าวิธีการให้ยาทางหลอดเลือดดำหรือการให้ยาทางกล้ามเนื้อ เพราะก่อให้เกิดความเจ็บปวดน้อยกว่า หาตำแหน่งที่ให้ยาได้ง่าย และสะดวกสำหรับผู้ป่วยและครอบครัวเมื่อกลับไปดูแลต่อที่บ้าน
ในกรณีที่ผู้ป่วยยังสามารถเดินและทำกิจกรรมได้ การให้ยาทางใต้ผิวหนังจะไม่จำกัดการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเพราะเครื่องให้ยามีขนาดเล็กพกติดตัวได้ ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ไม่ถูกจำกัดเหมือนการให้ยาทางหลอดเลือดดำ
การให้ยาทางใต้ผิวหนังจะมีการแทงเข็มฉีดยาขนาดเล็กไว้ที่ใต้ผิว และติดแผ่นเทปใสกันน้ำทับบนเข็มและสายเพื่อกันการเลื่อนหลุดและไม่ระเกะระกะต่อผู้ป่วย ที่ปลายอีกด้านของเข็มจะต่อกับสายพลาสติกขนาดเล็กไว้เพื่อเป็นช่องทางการให้ยาเผื่อจำเป็นต้องให้ยาทางใต้ผิวหนังอย่างต่อเนื่อง สายท่อพลาสติกนี้จะต่อกับเครื่องมือที่เรียกว่า ไซริงค์ไดรเว่อร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถตั้งปรับปริมาณของยาที่จะถูกส่งเข้าร่างกายของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับยาในร่างกายผู้ป่วยค่อนข้างคงที่ ส่งผลให้การควบคุมหรือจัดการอาการไม่สุขสบายในผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทีมสุขภาพจะเป็นผู้จัดการแทงเข็มไว้ให้
-
ตำแหน่งที่มักแทงเข็มเพื่อให้ยาทางใต้ผิวหนังคือบริเวณหน้าท้องหรือผนังทรวงอกตอนบนด้านหน้าของต้นขาด้านหน้าของแขนท่อนบนหรือแผ่นหลังก็ได้
-
โดยทีมสุขภาพจะเตรียมการให้ยาทางใต้ผิวหนัง รวมทั้งวางแผนการให้ยาเพื่อจัดการอาการเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นมือซ้ายเลื่อนหลุดเตรียมยาพร้อมทั้งประสานงานกับทีมสุขภาพใกล้บ้านถึงวิธีการใช้ยาและขนาดยาสำหรับผู้ป่วย
-
ทีมสุขภาพจะอธิบายขั้นตอนการไปรับยากับทีมสุขภาพใกล้บ้านให้ญาติเข้าใจอย่างถี่ถ้วนรวมทั้งสอนและอธิบายขั้นตอนการใช้เครื่องมือให้ยาทางใต้ผิวหนังให้แก่ผู้ให้การดูแลจนเกิดความมั่นใจและสามารถทำได้อย่างถูกต้อง
-
เข็มที่แทงไว้ใต้ผิวหนังนี้สามารถใช้เป็นช่องทางการให้ยานานสี่ถึงเจ็ดวันทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของยาที่ให้
-
เข็มที่แทงในชั้นใต้ผิวหนังนี้ไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บหรือรู้สึกรำคาญ
ที่มา:
นภา หลิมรัตน์, ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. (2559). การให้การดูแลทางกาย. ใน การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย สำหรับผู้ให้การดูแล (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา

ศูนย์ดูแลแบบประคับประคอง
โรงพยาบาลสกลนคร
📍ชั้น 1 อาคารรังสีรักษา โรงพยาบาลสกลนคร
1041 ถ.เจริญเมือง ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร
จ.สกลนคร 47000
📞042-176000 ต่อ 3915