การวินิจฉัยผู้ป่วย
Palliative Care
การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยกำลังเข้าสู่ระยะสุดท้าย เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะนำไปสู่กระบวนการดูแลแบบประคับประคอง แต่การวินิจฉัยระยะสุดท้ายในบางโรคหรือบางภาวะอาจทำได้ยากเนื่องจากมีการดำเนินของโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงมีการใช้เกณฑ์เฉพาะกลุ่มโรคเข้ามาช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่ 1
Surprise Question !
การตั้งคำถามแสดงความประหลาดใจ เป็นขั้นตอนแรกในการนำไปสู่การวินิจฉัยผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทำได้ง่ายๆ โดยการตั้งคำถามตัวคุณเองในฐานะทีมผู้ดูแลผู้ป่วยหรือแพทย์เจ้าของไข้ว่า...
"คุณ จะรู้สึกประหลาดใจไหม หากผู้ป่วยรายนี้เสียชีวิตภายในเวลาอีกไม่นาน?"
ถ้าคำตอบของคุณคือ "ไม่" แปลว่าผู้ป่วยรายนี้ "อาจจะ" เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ขั้นต่อไปให้ลองพิจารณาดูเกณฑ์บ่งชี้ทั่วไป(General indicators)

ขั้นตอนที่ 2
เกณฑ์บ่งชี้ทั่วไป(General Indicators)
คือการประเมินว่าผู้ป่วยมีภาวะบ่งชี้ทั่วไป ว่าจะมีความต้องการการดูแลเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งได้แก่เกณฑ์ต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อ
-
Functional performance status ถดถอย นั่งนอน > 50% ของวัน ต้องพึ่งพิงการช่วยเหลือมากขึ้น
-
มี multiple co-morbidity
-
โรคลุกลามไม่ตอบสนองการรักษา
-
ผู้ป่วยขอยุติการรักษาหลัก
-
น้ำหนักลด >10% ในหกเดือน
-
เข้า รพ.โดยไม่คาดหมายบ่อยครั้งมากขึ้น
-
เกิดเหตุสำคัญ เช่น ล้มรุนแรง
ขั้นตอนที่ 3
เกณฑ์เฉพาะกลุ่มโรค(Specific Criteria)
โดยการใช้เกณฑ์เฉพาะตามกลุ่มโรคที่ผู้ป่วยเป็น เข้ามาช่วยในการวินิจฉัย อาทิเช่น
-
Advanced cancer
-
Heart failure
-
COPD
-
CKD
-
Dementia
-
Neurological disease

เกณฑ์เฉพาะกลุ่มโรค
(Specific Criteria)
1 / Advanced Cancer
-
มะเร็งเข้าสู่ระยะแพร่กระจาย(distant metastasis)
-
เป็นมะเร็งที่มีการพยากรณ์โรคแย่ เช่น cholangiocarcinoma, lung cancer, esophageal cancer etc.
-
มีการถดถอยของ functional status ใช้เวลานั่งๆนอนๆ มากกว่า 50% ของวัน
2 / Heart Failure
พิจารณาตามเกณฑ์ต่อไปนี้
-
แสดงอาการรุนแรง
-
NYHA Functional class III-IV
-
หอบเหนื่อยขณะทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อย เช่น พูด กินอาหาร หรือแม้แต่ในขณะพัก
-
ไม่สามารถออกนอกที่พักอาศัยด้วยตนเองได้
-
-
เข้ารับการรักษาตัวใน รพ. 2 ครั้งขึ้นไปในช่วง 6 เดือน
-
ไม่สามารถใช้ยา beta-blocker, ACEI/ARB หรือ ARNI ขนาดที่เคยใช้อยู่เดิมได้เนื่องจากเกิดผลข้างเคียง
-
จำเป็นต้องใช้ยาขับปัสสาวะขนาดสูง(furosemide > 240mg/day) หรือต้องใช้ยาขับปัสสาวะมากกว่า 1 ชนิด
-
เกิดผลกระทบต่ออวัยวะอื่นนอกระบบหัวใจและหลอดเลือด
-
มีภาวะ cachexia หรือ BMI < 19kg/m2
-
CKD stage 4-5, BUN/Cr rising หรือ hyponatremia
-
pulmonary hypertension from left heart disease
-
-
Intracardiac device ทำงานกระตุกหัวใจหลายครั้ง
-
ไม่ตอบสนองต่อการใช้เครื่อง CRT ช่วยรักษา
-
จำเป็นต้องใช้ยากลุ่ม inotrope ทาง IV เพื่อพยุงอาการ
3 / COPD
เข้าเกณฑ์ต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ
-
มีสถานะของโรคอยู่ในระดับรุนแรง (FEV1 <30% predicted)
-
เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลบ่อยๆ (อย่างน้อย 3 ครั้งใน 12 เดือนที่ผ่านมา จากภาวะ COPD exacerbations)
-
มีข้อบ่งชี้ของการใช้ long-term oxygen therapy
-
MRC grade 4/5 โดยมีอาการหายใจหอบเหนื่อยหลังการเดินระยะ 100 เมตรในพื้นระนาบ หรือทำกิจกรรมอยู่แต่ในบ้านจากข้อจำกัดจากภาวะหายใจหอบเหนื่อย
-
มีอาการและอาการแสดงของ right heart failure
-
มีปัจจัยอย่างอื่นเหล่านี้ร่วม ได้แก่ เบื่ออาหาร ภาวะซึมเศร้า
-
ได้รับ systemic steroids มากกว่า 6 สัปดาห์ เพื่อรักษาอาการของ COPD ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา
4 / CKD
เข้าเกณฑ์ต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ
-
ทีมผู้ดูแลประเมินว่าผู้ป่วยอยู่ในปีสุดท้ายของชีวิต (Surprise question)
-
ผู้ป่วยเลือกไม่ล้างไต หรือยุติการล้างไต เนื่องจากไม่สามารถทำได้จากภาวะของ co-morbid หรือเป็นความประสงค์ของผู้ป่วย
-
มีอาการทางกายและทางจิตใจที่จัดการลำบากแม้ได้รับการดูแลด้วย renal replacement therapy ที่เหมาะสมอย่างเต็มที่
-
มีอาการของไตวาย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน คันตามตัว
-
สมรรถนะถดถอย ภาวะน้ำเกินที่จัดการลำบาก
5 / Dementia
มีภาวะที่เป็นสาเหตุหลายอย่างที่ต้องพิจารณาที่มีผลต่อความรุนแรงของ dementia ตัวบ่งชี้ที่บอกว่าผู้ป่วยเริ่มเข้าสู่ระยะท้ายของโรคได้แก่:
-
ไม่สามารถเดินโดยไม่มีคนคอยพยุง และ
-
ไม่สามารถกลั้นอุจจาระและปัสสาวะได้ และ
-
ไม่สามารถสื่อสารอย่างมีความหมาย และ
-
ไม่สามารถทำกิจกรรมในการดำรงค์ชีวิตประจำวัน (ADL)
-
Barthel score <3
-
ความสามารถในการประกอบกิจกรรมดำรงชีวิตประจำวันลดลง
ร่วมกับข้อใดข้อหนึ่งดังนี้:
-
น้ำหนักลด
-
มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสวะ
-
แผลกดทับระดับ 3/4
-
มีไข้เป็นๆหายๆ
-
รับประทานทางปากลดลง/น้ำหนักลด
-
ปอดบวมจากการสูดสำลัก
6 / Neurological Disease
-
มีการเสื่อมถอยด้านกายและการรับรู้อย่างต่อเนื่องแม้ได้รับการรักษาอย่างเต็มที่
-
มีอาการที่ซับซ้อนและจัดการยาก
-
มีภาวะกลืนลำบากที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในปอดและในกระแสเลือดซ้ำๆ มีอาการหายใจหอบเหนื่อยหรือมีภาวะหายใจวาย
-
พูดลำบาก มีความลำบากในการสื่อสารและมี progressive dysphasia
ร่วมกับตัวบ่งชี้อื่นๆ เฉพาะโรคดังนี้
Motor Neuron Disease (MND)
-
มีการเสื่อมถอยทางกายอย่างมาก
-
มีการติดเชื้อในปอดจากการสูดสำลัก
-
มีการรับรู้เปลี่ยนแปลงมากขึ้น เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
-
น้ำหนักลด
-
มีอาการซับซ้อนและมีภาวะแทรกซ้อนทางคลินิก
-
มี vital capacity ต่ำ (< 70% predicted) ตรวจโดย standard spirometry
-
มีปัญหาการเคลื่อนไหว dyskinesia ล้มบ่อย
-
ไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้
Parkinson’s disease
-
การรักษาด้วยยาไม่ได้ผลหรือต้องใช้ยาหลายขนานและซับซ้อนในการรักษา
-
ต้องการการช่วยเหลือในการทำกิจกรรมดำรงชีวิตประจำวัน
-
โรคควบคุมลำบาก
-
มีปัญหาการเคลื่อนไหว dyskinesia ล้มบ่อย
-
มีอาการทางจิตเวช (วิตกกังวล ซึมเศร้า ประสาทหลอน จิตเภท)
Multiple sclerosis
-
มีอาการซับซ้อนและมีภาวะแทรกซ้อนทางคลินิก
-
กลืนลำบาก และมีภาวะทุโภชนาการ
-
สื่อสารลำบาก เช่นพูดลำบาก อ่อนล้า
-
มีการรับรู้สูญเสีย เริ่มมี dementia
ศูนย์ดูแลแบบประคับประคอง
โรงพยาบาลสกลนคร
📍ชั้น 1 อาคารรังสีรักษา โรงพยาบาลสกลนคร
1041 ถ.เจริญเมือง ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมืองสกลนคร
จ.สกลนคร 47000
📞042-176000 ต่อ 3915